วิวัฒนาการของการศึกษา

วิวัฒนาการของการศึกษาไทย

การศึกษาในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ต่างมีวิวัฒนาการเพื่อปรับให้เข้ากับยุคและสมัยของผู้คนในแต่ละยุค ซึ่งปัจจัยที่ทำให้การศึกษามีวิวัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศ อย่างเช่น ปัจจัยภายในที่เกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในด้านต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งต่างประเทศเองก็มีวิวัฒนาการทางการศึกษาด้วยเช่นกัน

การศึกษาในอดีต
นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินตอนต้นการศึกษาได้ถูกจัดแบ่งตามเพศ โดยการศึกษาสำหรับผู้ชายจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การศึกษาของฝ่ายอาณาจักร และพุทธจักร การศึกษาของฝ่ายอาณาจักรจะเป็นการศึกษาสำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร โดยจะเล่าเรียนเกี่ยวกับมวย กระบี่กระบอง อาวุธ ตำราพิชัยยุทธ์ต่าง ๆ ส่วนการศึกษาของพุทธจักรจะเป็นการศึกษาสำหรับพลเรือนชาย เป็นการเล่าเรียนเกี่ยวกับคัมภีร์ไตรเวท โหราศาสตร์เวชกรรม และการศึกษาสำหรับเพศหญิงจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับงานบ้านงานเรือน กิริยามารยาท และการทำอาหาร เป็นต้น

การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2412- พ.ศ. 2535 ได้มีเกิดการปฏิรูปการศึกษาไทยซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

1. การปฏิรูปการศึกษาไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นการปฏิรูปการศึกษาไทยครั้งแรก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นตามวัดในมณฑลต่าง ๆ และให้โรงเรียนต่าง ๆ ขึ้นกับกรมศึกษาธิการทั้งหมด ต่อมาก็ได้มีการยกฐานะกรมศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมาการ หรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน

วิวัฒนาการของการศึกษา

2. การปฏิรูปการศึกษาไทยหลังการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะราษฎร์ได้มีการกำหนดเป้าหมายของการศึกษา คือ ให้พลเมืองทุกคน ไม่เลือกเพศ ชาติ และศาสนา ได้รับการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อประกอบอาชีพที่จะเกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง โดยให้มีการศึกษา 3 ด้านคือ จากธรรมชาติ จากการงาน และจากการสมาคม ซึ่งต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีการเพิ่มจุดเน้นการจัดการศึกษาไทยอีก 1 ส่วน จากสามส่วน เป็น พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา

3. การปฏิรูปการศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2494-2534
การปฏิรูปการศึกษาไทยในช่วงนี้ได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1, 2 และ 3 มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน มีการจัดสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย และมีการจัดวางระบบการศึกษา

การศึกษาสมัยปัจจุบัน
การศึกษาในปัจจุบัน ใช้แผนการศึกษาสมัย พ.ศ. 2535 ซึ่งมีลักษณะที่กำหนดหลายประการ ดังนี้

1. กำหนดหลักการที่สำคัญ 4 หลักการ
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย ที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย ปัญญา ด้านจิตใจ ด้านร่างกายและสังคม
3. วางระบบการศึกษา
4. กำหนดนโยบายการศึกษา 19 ประการ
5. กำหนดแนวทางการจัดการศึกษา
6. กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา

การศึกษาไทยในอนาคต
ในอนาคตการศึกษาถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับประชาชนและประเทศชาติอย่างมากเนื่องจากประชาชนต้องการทักษะการคิด การดำรงชีวิตจากการศึกษา และสำหรับประเทศชาติการศึกษาก็ยังเป็นความหวังและอนาคตของประเทศในด้านต่าง ๆ การศึกษาในอนาคตนี้จะมีความแตกต่างจากในอดีตเนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการศึกษาไทยจึงควรที่จะเปิดมุมมองทางด้านการศึกษาให้มากขึ้น

 

Releated